วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

กลยุทธทางการตลาดแบบ 4C's
        เมื่อผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมในการซื้อสินค้าและบริการ ทำให้กลยุทธ์ 4P’s (Product, Price, Place, Promotion) ที่คุ้นเคยกลายเป็นกลยุทธ์ที่ล้าหลังไปเสียแล้วสำหรับปัจจุบัน นักการตลาดจึงเริ่มหันมาจับกลยุทธ์ใหม่ที่เรียกว่า 4C’s (Customer, Cost, Convenience, Communication) แทน นั่นคือ นักการตลาดหันมามองมุมใหม่ ที่เป็นมุมมองของผู้บริโภคว่าผู้บริโภคต้องการอะไร (Consumer Wants and Needs) ผู้บริโภคมีต้นทุนเท่าไหร่ (Consumer’s Cost to Satisfy) จะเพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าให้กับผู้บริโภคได้อย่างไร (Convenience to buy) ควรจะสื่อสารอย่างไรเพื่อให้ผู้บริโภครับฟัง (Communication that Connects) และด้วยหลัก 4C’s นี้เองที่จะทำให้นักการตลาดสามารถเข้าถึงผู้บริโภคในปัจจุบันได้ง่ายขึ้น

ความต้องการของผู้บริโภค (Consumer Wants and Needs)

        คือ มองว่าผลิตสินค้านี้แล้วผู้บริโภคจะซื้อไปใช้หรือไม่ เนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันเรียนรู้ที่จะเลือกบริโภคสินค้าแบบไหน อย่างไร ไม่ใช่ผู้ผลิตผลิตอะไรออกมาก็จะขายได้ทุกอย่างเหมือนเมื่อก่อน ยิ่งตอนนี้เป็นยุคที่ต้องรัดเข็มขัด ผู้บริโภคก็อาจเลือกเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาความผู้รอดของพวกเขา

ต้นทุนของผู้บริโภค (Consumer’s Cost to Satisfy)

        การตั้งราคาของผู้ผลิตต้องคำนึงถึงต้นทุนของผู้บริโภคมากกว่าต้นทุนทางการผลิต โดยพิจารณาว่า ก่อนที่ผู้บริโภคจะจ่ายเงินซื้อสินค้าชิ้นนั้น เขาต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรมาก่อนหรือไม่ เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่จอดรถ และค่าเสียเวลา ถ้าเขาหักลบกลบหนี้แล้ว รู้สึกคุ้มค่ากับต้นทุนที่ใช้จ่ายออกไปก่อนหน้านี้หรือไม่ ถ้าไม่คุ้มค่าผู้บริโภคก็ไม่เลือกซื้อสินค้านั้น

ความสะดวกในการซื้อ (Convenience to buy)

        คือ คำนึงถึงความสะดวกสบายของลูกค้าเป็นสำคัญ ด้วยการเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายที่ผู้บริโภคสามารถซื้อหาสินค้าได้อย่าง สะดวกรวดเร็ว ถ้าต้องการซื้อในจำนวนมากและได้ราคาถูกควรไปที่ไหน ถ้าต้องการซื้อเพียงชิ้นเดียวและซื้อได้อย่างรวดเร็วควรไปที่ไหน เป็นต้น

การสื่อสาร (Communication that Connects)

        การ สื่อสารที่ดีจะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และความเชื่อถือในสินค้า ส่งผลให้เกิดยอดขายที่เพิ่มขึ้น แต่ในปัจจุบันสินค้าทุกชนิดทุกยี่ห้อต่างก็พยายามที่จะสื่อสารไปยังผู้ บริโภค ผู้บริโภคจึงต้องเลือกที่จะฟังหรือไม่ฟัง ดังนั้นหน้าที่ของนักการตลาดที่ดีก็คือ หาวิธีสื่อสารอย่างไรที่จะทำให้ผู้บริโภครับฟังคุณ


กลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด Marketing Mix Strategy  

          สิ่งที่จะสนองความต้องการของลูกค้าได้ มีอยู่ 4 ประการ คือ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด ทั้ง 4 ประการจะต้องสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้สนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างกลมกลืน

1. ผลิตภัณฑ์
         
          ผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิ่งที่จะสนองความต้องการของลูกค้า อาจมีตัวตนหรือไม่มีตัว ตนก็ได้ จะต้องพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                 - แนวความคิดด้านผลติภัณฑ์ ต้องรู้ว่าสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคคืออะไร
                 - คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ หมายถึง ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางชีวะ ความงาม ความทนทาน รูปร่างรูปแบบของผลิตภัณฑ์
                 - จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ เป็นลักษณะเด่นเป็นพิเศษ กว่าสินค้าอื่น
                 - ผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ เป็นผลประโยชน์ที่ผลิตภัณฑ์มีต่อลูกค้า มี 2 ด้านคือ ผลประโยชน์โดยหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ และผลประโยชน์ทางด้านอารมณ์
                 - ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ คือความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ โดยทั่วไปเรามักจะมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 ชนิด ส่วนประสมทางผลิตภัณฑ์อาจแบ่งออกตามชนิด ตามรุ่น ตามขนาด ตามลักษณะจัดจำหน่ายหรือตามความเกี่ยวข้องกันของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
                 - ตราสินค้า เป็นการบรรยายถึงลักษณะของผลิภัณฑ์ซึ่งอาจเป็นคำพูด สัญลักษณ์ หรือรวมกัน โดยทั่วไป เจ้าของผลิตภัณฑ์มักใช้ตราสินค้า มาจำแนกสินค้าให้เห็นว่าแตกต่างจากสินค้าของคนอื่นและทำให้ผู้บริโภคจดจำสินค้าได้ง่าย ตราสินค้ามีส่วนสำคัญมากที่ทำให้ผู้บริโภคหันกลับมาซื้อสินค้าของเราในโอกาสหน้าอีก
                 - บรรจุภัณฑ์ เป็นสิ่งที่หุ้มห่อสินค้า อาจทำหน้าที่ในการบรรจุ หุ้มห่อ รวมทั้งสื่อสารทางการตลาด โดยบรรจุภัณฑ์จะเป็นตัวที่ช่วยสนองความต้องการของลูกค้า ในบางกรณีบรรจุภัณฑ์จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจทำให้ลูกค้ายินดีที่จะจ่ายในราคาที่สูงขึ้นได้

2. ราคา

                 - ราคาเป็นส่วนประสมทางการตลาดเพียงอย่างเดียวที่ ทำให้เกิดรายได้
                 - องค์ประกอบหลักในการกำหนดราคาต่ำสุดคือ ต้นทุนการผลิต และองค์ประกอบในการกำหนดราคาสูงสุดคือ คุณค่าในสายตาของผู้บริโภค
                 - วิธีการกำหนดราคา มี 3 ประเภท คือ
                    1) พิจารณาจากต้นทุน
                    2) พิจารณาจากลูกค้า
                    3) พิจารณาจากคู่แข่งขัน
                 - การกำหนดราคาเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมาก ในการบริหารธุรกิจ ในการกำหนดราคาจะต้องมีความชัดเจนในเรื่อง วัตถุประสงค์ของการกำหนดราคา เช่น ลดราคาเพื่อสกัดคู่แข่ง ตั้งราคาต่ำเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการได้ลูกค้าใหม่ ลดราคาเพื่อไล่ตามคู่แข่ง สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การทำให้ลูกค้ายอมรับในการเปลี่ยนแปลงราคา
                 - ประเด็นสำคัญของราคาไม่ได้อยู่ที่ตั้ง ไว้ที่ราคาเท่าไหร่ หากแต่ขึ้นกับการเปรียบเทียบระหว่าง ราคาของสินค้า กับคุณค่าของสินค้าที่มีต่อผู้บริโภค หากลูกค้ารู้สึกว่าสินค้ามีคุณค่ามากกว่าราคา เขาก็จะยินดีซื้อสินค้าในราคาที่กำหนด

3. ช่องทางการจัดจำหน่าย

          ช่องทางการจัดจำหน่าย มีความหมายครอบคลุมในเรื่อง การนำสินค้าจากผู้ผลิตไปถึงมือผู้บริโภค การควบคุมปริมาณสินค้า การขนส่ง การติดต่อสื่อสาร จนกระทั่งเรื่องประเภทของร้านจำนวนของร้าน โกดัง การกระจายทางกายภาพ วิธีการกระจายสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่ายต้องคำนึงถึง

                    1) การเข้าถึง เช่น การใช้สื่อ การกระจายสินค้าไปหาลูกค้าให้ตรงตามพฤติกรรม ลักษณะนิสัยความต้องการ ฯลฯ
                    2) ขายสินค้าได้ จะเกิดหลังจากที่เราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้แล้ว
                    3) รักษาไว้ คือ สร้างความสัมพันธ์ให้เกิดการซื้อขายต่อเนื่อง เพื่อ ให้ลูกค้าอยู่กับเราตลอดไป

ข้อพิจารณาในการเลือกช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่

                    1) พื้นที่ครอบคลุม ซึ่งอาจ ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่เป็นไปได้ ครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ที่เลือกสรร หรือครอบคลุมพื้นที่เพียงจุดเดียว
                    2) ประเภทของร้านค้าปลีก
                    3) ผลประโยชน์ที่ต้องให้กับร้านค้า

4. การส่งเสริมการตลาด

          หมายถึง ความพยายามทั้งสิ้นที่จะส่งเสริมให้การตลาดบรรลุเป้าหมายได้ ทำให้ลูกค้ามาซื้อสินค้า สนใจสินค้าของเรา ลูกค้าเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสินค้าและรักษาไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลง

การส่งเสริมการตลาดประกอบไปด้วย

                    1) การแจ้งข่าวสารข้อมูล
                    2) การโน้มน้าวชักจูงใจ
                    3) การเตือนความจำ  ประกอบไปด้วย
                         - การโฆษณา
                         - การส่งเสริมการขาย
                         - การขายโดยใช้พนักงาน
                         - การประชาสัมพันธ์
                         - การพูดแบบปากต่อปาก

          1. การโฆษณา เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว ที่มีประสิทธิภาพสำหรับตลาดแบบมวลชน มีลักษณะเป็นการเสนอข่าวสาร ทำให้เกิดการรับรู้ สร้างสรรความรู้สึกที่ดีต่อสินค้า และทำสร้างการเรียนรู้เร่งเร้าให้เกิดการซื้อ
          2. การส่งเสริมการขาย เป็นการสื่อสารทางเดียวเกี่ยวกับเนื้อหาที่น่าสนใจเฉพาะอย่าง ทำให้เกิดแรงจูงใจระยะสั้น ๆ มีวัตถุประสงค์ทำให้เกิดการรับรู้ การเรียนรู้และแนะวิธีการใช้สินค้า
          3. การขายด้วยพนักงานขาย เป็นการสื่อสารสองทางที่มีคุณภาพสูงโดยผ่านการพูดคุยหรือชี้แนะการใช้สินค้าต่อผู้บริโภคแต่ละคนโดยตรง มีลักษณะเป็นการเสนอข่าวสารข้อมูลพิเศษให้กับผู้ที่จะเป็นลูกค้า
          4. การประชาสัมพันธ์ เป็นการสื่อสารทางเดียวเกี่ยวกับข่าวสารในเชิงพานิชของสินค้าผ่านสื่อสาธารณะมีลักษณะเป็น การเสนอข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่ การประเมินผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการรับรู้ การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและ สนับสนุนการตัดสินใจ
          5. การพูดปากต่อปาก เป็นการสื่อสารสองทาง มีลักษณะเป็นการสนับสนุนซึ่งกันและกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการรับรู้ การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและ สนับสนุนการตัดสินใจ การพูดแบบปากต่อปากมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคมาก โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาสูง และสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง


ค้นจาก http://nenfe.nfe.go.th/elearning/courses/67/chap3_3_1.htm

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศจีนในมุมมองต่างๆ

ประเทศจีนมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีพลวัตรสูง และเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ (economic powerhouse) ของภูมิภาคและของโลกด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี และการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดกำลังเป็นที่จับตามองของทุกฝ่ายว่าการเติบโตนี้จะมุ่งไปในทิศทางใด
           
-           ปัจจุบันถนนทุกสายวิ่งสู่ประเทศจีนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก รองลงมาจาก สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเยอรมนี และเงินทุนสำรองที่มากที่สุดในโลกโดยความสำเร็จนี้นำมาซึ่งความห่วงกังวลและโอกาส โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน
           
-     เขตเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนมี ดังนี้  (1) เขตลุ่มแม่น้ำเพิร์ล (Pearl River Delta) ประกอบด้วย 9 เมือง ได้แก่ นครกวางโจว เสิ่นเจิ้น จูไห่ ตงก่วน ฝอซาน (รวมหนานไห่และซุนเต๋อ)

จงซาน เจียงเหมิน หุ้ยโจว (ยกเว้น Longmen County) และจ้าวฉิ้ง (เขตเมืองจ้าวฉิ้ง Gaoyao และ Sihui) (2) เขตปากน้ำแยงซี (Yangtze River Delta) รวม 16 เมือง ได้แก่ นครเซี่ยงไฮ้ 8 เมืองในมณฑลเจียงซู และ 7 เมืองในมณฑลเจ้อเจียง (3)  เขตเศรษฐกิจป๋อไห่ (Bohai Economic Zone) ประกอบด้วยกรุงปักกิ่ง มหานครเทียนจิน และเมืองในมณฑลเหอเป่ยและชานตง1 และ (4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คลอบคลุมมณฑลเหลียวหนิง จี๋หลิน และเฮยหลงเจียง ซึ่งในอดีตเป็นเขตอุตสาหกรรมหนักที่สำคัญของประเทศ แต่ได้รับผลกระทบหลังจากที่รัฐบาลจีนได้เริ่มดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบระบบตลาด (market economy) ส่งผลให้เขตนี้มีความล้าหลังกว่า 3 เขตข้างต้น  อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะฟื้นฟูเขตดังกล่าวให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมหนักของประเทศ เป็น new powerhouse ของประเทศเช่นเดียวกับเขตเศรษฐกิจ 3 เขตข้างต้น โดยได้กำหนดให้เหลียวหนิงเป็นศูนย์การผลิตอุปกรณ์และวัตถุดิบระดับโลก


            1.1 
   ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจจีน (ปี 2549)
            2.1    ด้านการค้า            

           
-     การค้าระหว่างไทยกับจีนได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปี
2548 การค้าทวิภาคีมีมูลค่า
20,327.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจีนได้เลื่อนขึ้นมาเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทย และไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 14 ของจีน ในปี 2548 มูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.21 ทั้งนี้ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2549 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่าประมาณ 22,964.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  โดยไทยส่งออกสินค้าไปจีนมูลค่า 10,625.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.41 ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าจากจีน 12,339.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.30
           
-           ระหว่างการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจไทย-จีน ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งเป้าหมายมูลค่าการค้าไทย-จีนภายในปี 2553 จะเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
           
-           จีนเป็นตลาดส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกชนิดของไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตร สินค้าส่งออกของไทยไปจีนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30 ต่อปีโดยแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อไป โดยเฉพาะสินค้า เช่น วัตถุดิบ พลังงาน เคมีภัณฑ์ และสินค้าเกษตร
           
            2
.2    การลงทุน
            
-           การลงทุนระหว่างไทยกับจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้การลงทุนของจีนในไทยยังไม่มากนักและกระจัดกระจาย และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนระยะสั้นและมีขนาดกลาง           
           
-     ในปี
2548 การลงทุนของไทยในจีนมี 147 โครงการ มูลค่าการลงทุนตามสัญญา 1,040 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินลงทุนจริง 95.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการเกษตร ป่าไม้ อสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร ในขณะที่การลงทุนของจีนในไทยยังมีไม่มากนัก ประมาณ 250 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การลงทุนสะสมของไทยในจีนจนถึงเดือนมีนาคม 2549 มี 3,713 ดอลลาร์สหรัฐ เงินลงทุนจริง 2,882.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการลงทุนตามสัญญาจนถึงเดือนกันยายน 2548 เท่ากับ 7,881.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
           
-           การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจไทย-จีน ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้ตั้งเป้าหมายมูลค่าการลงทุนสองฝ่ายภายในปี 2553 จะเพิ่มขึ้นเป็น 6,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเน้นส่งเสริมการลงทุนใน 5 สาขา คือ อาหาร เกษตรแปรรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และการบริหารที่มีมูลค่าเพิ่ม
           
-           รัฐบาลจีนมีนโยบายส่งเสริมให้นักธุรกิจจีนไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น2 โดยอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศเป้าหมายที่นักลงทุนจีนให้ความสนใจเป็นอันดับแรกอันเนื่องจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และความคล้ายคลึงของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมระหว่างกัน ซึ่งไทยมีความได้เปรียบและจุดเด่นในด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในอันที่จะทำหน้าที่เป็นประตูสำหรับจีนไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
 
            2
.3  การท่องเที่ยว 
            -      คนจีนมีรายได้สูงขึ้น และรัฐบาลจีนเริ่มที่จะอนุญาตให้คนจีนเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้น โดยประเทศไทยมีที่ตั้งที่เหมาะสมในการรองรับการหลั่งไหลของคนจีนที่จะไปท่องเที่ยวต่างประเทศ
          
           
-      ตลาดนักท่องเที่ยวจีนเป็นตลาดที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเป็นตลาดนักท่องเที่ยวหลักของไทย โดยปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปประเทศไทยประมาณ
8 แสนคน โดยไทยเป็นประเทศ/พื้นที่ที่ชาวจีนเดินทางไปท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 รองจากฮ่องกง มาเก๊า และญี่ปุ่น
           
-           การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจไทย-จีน ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้ตั้งเป้าหมายนักท่องเที่ยวระหว่างไทยกับจีน เพิ่มขึ้นเป็น 4 ล้านภายในปี 2553
           
-           ไทยกับจีนมีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และเชื้อชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ประชาชนของทั้งสองประเทศมีความเข้าใจพื้นฐานที่ดีระหว่างกัน ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวไทยมีความสะดวดสบายสำหรับนักท่องเที่ยวจีน

   
           2
.4 
   ด้านสังคม วัฒนธรรม การศึกษาและวิชาการ
           
สังคมและวัฒนธรรม
           
-           ประชาชนชาวจีนและชาวไทยมีความใกล้ชิดและความผูกพันเกี่ยวดองกันทางด้าน
วัฒนธรรมและเชื้อชาติ และมีการติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ

           
-           ประชาชนชาวจีนและชาวไทยมีความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ไม่มีความบาดหมางที่ตกทอดมาจากประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ประลาลนส่วนใหญ่ของทั้งสองประเทศโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในช่วงการเริ่มต้นของการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-จีน ในอดีต ขาดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน


          
การศึกษาและวิชาการ
            
-          
ปัจจุบันมีนักศึกษาจีนมาศึกษาต่อในไทยจำนวนมากกว่า 1,000 คน โดยเป็นกลุ่มนักศึกษาต่างชาติที่มีจำนวนมากที่สุด และในขณะเดียวกัน มีนักเรียน/นักศึกษาไทยไปศึกษาต่อในจีนจำนวนมากเช่นกัน
             
-           ไทยกับจีนมีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการศึกษาและวิชาการระหว่างหน่วยงาน

ภาครัฐและสถาบันการศึกษาไทย-จีน อย่างสม่ำเสมอ ทั้งในรูปของทุนการศึกษา โครงการศึกษาดูงาน และการดำเนินโครงการวิจัยร่วมกัน
                          -           จีนเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ มีความก้าวหน้าทางวิชาการโดยเฉพาะในสาขาคณิตศาสตร์ฟิสิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพ เกษตร อวกาศ เป็นต้น และมีความรู้เฉพาะด้านที่สำคัญ เช่น แพทย์แผนจีน รวมทั้ง มีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก 

3.   การดำเนินงานเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน


             
-           ในปี 2553 เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนจะมีผลบังคับใช้ซึ่งจะเกิดการหลั่งไหลและ
เปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลต่อด้านการค้า การลงทุน การเดินทาง การคมนาคมต่าง ๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน กับไทยด้วยการอย่างของสินค้าจากจีนสู่ไทยและต่อไปยังภูมิภาคอาเซียน

             
-     ปัจจุบันจีนได้สร้างเส้นทางเชื่อมโยงไทยและตอนใต้ของจีนโดยการคมนาคมประกอบด้วย (
1) การเดินทางทางบกด้วยเส้นทาง R3A ระหว่างเชียงของ-ห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อหาร-จิ่งหง-ซือเหมา-คุนหมิง (รวม 1,104 กม.) และเส้นทาง R3B ระหว่างแม่สาย-เชียงตุง-เมืองลา-จิ่งหง-ซือเหมา-คุนหมิง (รวม 1,053 กม.)  (2) การเดินทางทางน้ำ ระหว่างจิ่งหง-กวนเหล่ย-เชียงแสน (รวม 344 กม.) (3) การเดินทางทางอากาศ ระหว่างกรุงเทพฯ-คุนหมิงและกรุงเทพฯ-จิ่งหง และ (4) การเดินทางทางรถไฟ
             -    
ไทยสามารถใช้ข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในปี 2553 เช่น การส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านคมนาคม  การเป็นแหล่งป้อนพลังงานให้กับจีน เช่น ท่อส่งน้ำมัน วัตถุเชื้อเพลิง การเป็นศูนย์กลางด้าน logistic และการบริการ เป็นต้น 
 

 



1 เขตเศรษฐกิจทั้ง 3 เขตข้างต้นเป็น  powerhouse ของการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีน  โดยเป็นแหล่งรวมตัวกันของนักลงทุนต่างชาติ  มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สูงและรวดเร็วกว่าเขตอื่นของประเทศหลายเท่าตัวจึงทำให้ความเจริญทางเศรษฐกิจของจีนกระจุกตัวในเขตดังกล่าวหรือบริเวณใกล้เคียง

2 บริษัทจีนที่มีศักยภาพที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจ (State Owned Enterprises: SOEs)  
 
 
GDP      2.29 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)2.62 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 จากปี 2548
การค้ากับต่างประเทศ          
        
การส่งออก
          
        
การนำเข้า
         ดุลการค้า                        
1.76 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (+23.8% จากปี 2548)969.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (+27.2%จากปี 2548)791.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (+20% จากปี 2548)177.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ1.07 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
การลงทุนของจีนในต่างประเทศ16.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อ1.8% (2548)

   
2. ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทย-จีน 

เจาะหนิงเซี่ย : อุตสาหกรรมการแปรรูปขนแพะ

เจาะหนิงเซี่ยเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2551 ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครซีอาน ได้เสนอเรื่องราวด้านเกษตรกรรมของหนิงเซี่ยเกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของแตงโมโผล่จากหินที่สร้างความร่ำรวยให้แก่เมืองจงเว่ย  อย่างไรก็ดี หนิงเซี่ยไม่ได้เน้นด้านเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ยังพัฒนาด้านอุตสาหกรรมไปพร้อม ๆ กัน อุตสาหกรรมที่โดดเด่นของหนิงเซี่ยมี 5 ด้าน คือ
·         ด้านพลังงาน เช่น ถ่านหิน ไฟฟ้า และน้ำมัน
·         ด้านแร่ธาตุ เช่น สารแทนทาลัม นีโอเบียม เบริลเลียม แมกนีเซียม อลูมิเนียม ก้อนผงถ่าน และผลึกโพลิซิลิคอน
·         การผลิตอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น เครื่องจักรระบบดิจิตอล เครื่องบันทึกระบบอัตโนมัติ แบร์ริ่งขนาดใหญ่ และอะไหล่แคสติ่ง
·         การแปรรูปการเกษตร เช่น การแปรรูปขนแพะ เก๋ากี้ เหล้าองุ่น ผลิตภัณฑ์นม และเนื้อวัวเนื้อแกะฮาลาล
·         ด้านเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น ด้านเวชภัณฑ์ และด้านข่าวสารข้อมูล
มาวันนี้ เราขอนำเสนออุตสาหกรรมการแปรรูปขนแพะของเขตหนิงเซี่ยกันบ้าง

中卫山羊

เกี่ยวกับขนแพะ
ขนแพะภาษาจีนเรียกว่า หยางหรง (羊绒) ส่วนขนแกะจะใช้คำว่า หยางเหมา (羊毛 ) ขนแพะกับขนแกะต่างกัน ขนแพะจะเป็นขนอ่อน ซึ่งตรงกับคำภาษาจีนว่า หรง () มีความอ่อนนุ่ม เส้นใยละเอียด ส่วนขนแกะจะหยาบกว่า ขนแพะเป็นเส้นใยที่หายาก ล้ำค่าและมีชื่อเสียงล่ำลือทั่วโลก ถือเป็นวัตถุดิบชั้นสูงของอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในช่วงฤดูหนาวแพะจะสร้างขนออกมาปกคลุมทั่วร่างกายเพื่อปกป้องความหนาว พอเข้าฤดูร้อนขนของแพะจะหลุดร่วง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับอากาศ อากาศยิ่งหนาวขนแพะยิ่งงอกงามและละเอียด จากประวัติศาสตร์แถบแคชเมียร์ในเอเชีย ได้มีการนำขนแพะไปจำหน่ายในทวีปยุโรป ในตลาดระหว่างประเทศมักเรียกขนแพะว่า แคชเมียร์ (Cashmere) คนจีนเลียนเสียงเรียกว่า ไคซือหมี่ (开司米)
ขนแพะมีลักษณะพิเศษคือ ขนละเอียด อ่อนนุ่ม มีความโค้งงอตามธรรมชาติสูง เวลาถักทอจะทำให้เส้นใยเรียงตัวแน่น และรักษาความอบอุ่นได้ดี ซึ่งดีกว่าขนแกะ 1.5 2 เท่า ขนแพะภายนอกจะมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็ก ๆ แต่แวววาว เส้นใยตรงกลางมีช่องว่างอากาศ ทำให้น้ำหนักเบา ลื่นและเหนียว สีและความวาวอ่อนโยนตามธรรมชาติ เส้นใยละเอียดสม่ำเสมอ การดูดซับดี สีไม่ตกง่าย มีความยืดหยุ่นดี สวมใส่สบาย ซักแล้วไม่หดตัว ใส่แล้วรู้สึกสบายตัวและให้ความรู้สึกสง่างาม
ขนแพะแบ่งชนิดตามสีธรรมชาติของขนแพะ ได้แก่ ขนแพะสีขาว สีเขียว และสีม่วง ขนแพะที่มีราคาคือขนแพะสีขาว ซึ่งทั่วโลกมีประมาณร้อยละ 30 ของขนแพะทุกสีรวมกัน ส่วนจีนมีขนแพะสีขาวประมาณร้อยละ 40  ปริมาณขนแพะมีจำกัด แพะ 1 ตัวให้ปริมาณขนแพะที่เรียกว่า อู๋เหมาหรง (无毛绒) (ซึ่งเป็นเส้นใยขนแพะบริสุทธิ์ที่ผ่านกระบวนการหวีใยเอาสิ่งสกปรกออกแล้ว จะมีลักษณะนุ่มเบา) เพียง 50 80 กรัม โดยเฉลี่ยต้องใช้แพะ 5 - 8 ตัว ถึงจะผลิตเสื้อ sweater ได้ 1 ตัว

ขนแพะสีขาว
ลักษณะต้องเป็นเส้นใยสีขาว ไม่มีสีอื่นเจือปน มิฉะนั้นจะถูกจัดอยู่ในประเภทขนแพะสีเขียว ทำให้เสียราคา

ขนแพะสีเขียว
เป็นเส้นใยสีขาวปนเทา หรือสีขาวปนดำเล็กน้อย มักเป็นเส้นใยของแพะเขียว (青山羊) และแพะน้ำตาลแดง (棕红山羊) จีนมีการผลิตขนแพะสีเขียวค่อนข้างน้อย
แพะเขียว (青山羊)

ขนแพะสีม่วง
เส้นใยจะมีสีออกม่วงหรือสีน้ำตาลม่วงหรือเป็นการผสมระหว่างเส้นใยสีขาว สีเขียวและสีม่วง มักเป็นเส้นใยของแพะดำ (黑山羊) 
แพะดำ (黑山羊)

นอกจากนี้ทั่วโลกเขตที่ผลิตขนแพะได้ จะต้องเป็นเขตที่สูง หนาว และกึ่งทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายที่กว้างสุดลูกหูลูกตา ได้แก่ จีน อินเดีย อิหร่าน ตุรกี รัสเซีย คาซัคสถาน และอัฟกานิสถาน เป็นต้น เขตผลิตขนแพะของจีนที่สำคัญได้แก่ มองโกลเลียใน ซินเจียง เหลียวหนิง ส่านซี กานซู หนิงเซี่ย ซานซี ทิเบต และชิงไห่ โดยขนแพะของมอลโกเลียในเป็นขนแพะที่มีคุณภาพดีที่สุด ส่วนขนแพะอำเภอถงซิน เมืองอู๋จงของเขตหนิงเซี่ย ถูกขนานนามว่าเป็น เมืองแห่งขนแพะ เพราะเป็นเขตจำหน่ายขนแพะดิบที่ใหญ่ที่สุดของจีน และเมื่อปี 2549 เมืองหลิงอู่ เป็นอีกเมืองที่ถูกขนานนามว่า เมืองแห่งอุตสาหกรรมขนแพะคุณภาพยอดเยี่ยมของจีน
         
กระบวนการผลิตขนแพะโดยสังเขป
1. ขนแพะดิบ
เมื่อถึงช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ขนแพะจะเริ่มร่วง คนเลี้ยงสัตว์จะใช้แปรงเหล็กที่ทำเป็นพิเศษแปรงขนแพะ ขนที่ได้เราเรียกว่า ขนแพะดิบ ซึ่งจะมีขนแพะอ่อน ขนหยาบ ผิวหนัง และดินทราย ผสมปนเปกัน ใช้แรงงานคนคัดแยกเอาสิ่งสกปรกที่เห็นด้วยตาเปล่าออกก่อนในขั้นต้น จากนั้นผ่านเครื่องเขย่าทรงกระบอกเอาเศษดินทรายออก ถ้าเป็นขนแพะชนิดสีขาวจะคัดแยกเส้นใยสีดำออก

คนงานกำลังคัดแยกขนแพะดิบ

2. การล้าง
การล้างน้ำยาด้วยสารซักฟอกที่มีความเป็นกลางเพื่อขจัดสิ่งสกปรกและน้ำมัน โดยผ่านรางแช่น้ำ รางสำหรับการล้างน้ำยา และรางล้างด้วยน้ำเปล่า แต่ละรางจะมีระยะเวลาและการควบคุมอุณหภูมิที่ต่างกัน จากนั้นทำให้แห้ง ความชื้นที่เหมาะสมอยู่ระหว่างร้อยละ 12 17 ขนแพะที่ออกมาจะฟูนุ่มและมีความวาว
3. การหวีเส้นใย
การหวีเส้นใยเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง คุณภาพของเส้นใยจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับเครื่องจักรและเทคนิค เทคนิคการหวีเส้นใยส่วนใหญ่มักถูกปกปิดเป็นความลับ การหวีเส้นใยจะมีน้ำเป็นตัวช่วย ผสมสารอิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier เป็นสารปรุงแต่งที่ทำให้น้ำและน้ำมัน หรือไขมันรวมตัวกันเป็นเนื้อเดียว) ลงไปเล็กน้อย ทิ้งไว้ 8 16 ชั่วโมง จากนั้นจึงสามารถทำการหวีเส้นใยได้ การหวีเส้นใยจำเป็นต้องควบคุมปริมาณความชื้นด้วยเช่นกัน
4. อู๋เหมาหรง
เครื่องจักรหวีเส้นใยกำลังทำงาน ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ อู๋เหมาหรง

สิ่งที่ได้จากการหวีเส้นใย เราเรียกว่า อู๋เหมาหรง (无毛绒) คุณภาพของอู๋เหมาหรงที่ดีควรมีความยาว 32 มิลมิเมตรขึ้นไป มีอัตราขนหยาบได้เพียงไม่เกินร้อยละ 0.3 มีเศษผิวหนังติดมาได้ไม่เกินร้อยละ 0.2 ความละเอียดของเส้นใยต้องน้อยกว่า 16 ไมโครเมตร (ไมโครเมตร เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 x 10-6 เมตร มักย่อว่า µm มาจากภาษาอังกฤษ micrometre) และไม่มีเส้นใยอื่นผสม ปัจจุบันมีพ่อค้าจำนวนไม่น้อยในตลาดระหว่างประเทศ เพียงเพื่อต้องการให้ต้นทุนต่ำได้เพิ่มขนแกะหรือเส้นใยอื่นผสมปนเป หรือไม่ก็ใช้อู๋เหมาหรงความยาวเพียง 28 30 มิลมิเมตร หรือมีความละเอียดของเส้นใยมากกว่า 16 ไมโครเมตร (ต่ำกว่ามาตรฐาน) สำหรับผลิตภัณฑ์ยี่ห้อระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญจะใช้อู๋เหมาหรงที่มีความละเอียดประมาณ 13.5 - 15 ไมโครเมตร และความยาวประมาณ 38 มิลลิเมตร
5. การปั่นเส้นใยให้เป็นเส้นใยยาว เส้นด้าย และสเวตเตอร์
อุตสาหกรรมการปั่นอู๋เหมาหรงให้เป็นเส้นใยยาว

หลังจากที่ได้อู๋เหมาหรงสามารถทำการจำหน่ายให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าต่อไป โดยทั่ว ๆ ไปอู๋เหมาหรงที่ได้จะนำมาปั่นเส้นใยให้เป็นเส้นใยยาวเพื่อทำเป็นเส้นด้าย หรือนำไปผ่านการย้อมก่อนที่จะนำมาทำเป็นเส้นด้าย และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ต่อไป

1. ภาพขนแพะดิบ และภาพคนงานช่วยกันคัดแยกขนแพะดิบ
2. เครื่องล้างขนแพะและหวีเส้นใยในเครื่องเดียวกัน
3. การหวีเส้นใย
4. อู๋เหมาหรง
5. เส้นใยยาว
点击放大
羊绒纱2
6. เส้นด้ายที่ยังไม่ได้ย้อม และเส้นด้ายที่ผ่านการย้อมแล้ว
7. เสื้อ  sweater

 ความเป็นมาของอุตสาหกรรมเส้นใยขนแพะในหนิงเซี่ย
          ช่วงต้นทศวรรษ 1980 สินค้าเกี่ยวกับขนแพะออกโลดแล่นสู่ตลาดโลก จีนจึงได้มีการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงแพะ และอุตสาหกรรมการแปรรูปขนแพะ เนื่องจากหนิงเซี่ยเดิมเป็นเขตผลิตขนแพะที่สำคัญอยู่แล้ว และยังเป็นศูนย์กระจายและแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าขนสัตว์ไปสู่ภาคเหนือของจีน จากการเดินทางไปมาซื้อขายกันทำให้เกิดการค้าขนแพะขึ้นที่อำเภอถงซินและอำเภอหลิงอู่ (ขณะนั้นยังเป็นแค่อำเภอ) จนถึงปี 2531 อำเภอถงซิน เมืองอู่จง ได้กลายเป็นแหล่งกระจายสินค้าขนแพะที่ใหญ่ที่สุดในจีน ปัจจุบันอุตสาหกรรมขนแพะของอำเภอถงซินมีพนักงานเกือบ 10,000 คน ยอดจำหน่ายปีละ 2,800 ตัน
          หลังจากมีตลาดการค้าขนแพะ หนิงเซี่ยจึงเริ่มมีอุตสาหกรรมการแปรรูปขนแพะ และช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 หนิงเซี่ยเริ่มมีอุตสาหกรรมการหวีเส้นใย แต่ยังมีขนาดเล็ก กระทั่งหลังปี 2543 หนิงเซี่ยได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมขนแพะอย่างรวดเร็ว มูลค่าของอุตสาหกรรมขนแพะปี 2545 เท่ากับ 1,200 ล้านหยวน และมีอัตราการเติบโตในแต่ละปีสูงขึ้นร้อยละ 40 และคาดว่าปี 2551 จะมีมูลค่าอุตสาหกรรมขนแพะมากกว่า 7,000 ล้านหยวน ปัจจุบันหนิงเซี่ยกลายเป็นเขตแปรรูปขนแพะที่ใหญ่ติด 1 ใน 3 ของจีน  อีกทั้งคุณภาพของขนแพะยังใกล้เคียงกับขนแพะโมแฮร์ (Mohair คือขนแพะจากแพะพันธุ์แองโกลา ซึ่งมีขนยาวคล้ายไหม)

ลักษณะเด่นของอุตสาหกรรมเส้นใยขนแพะเขตหนิงเซี่ย
  1. เป็นอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
ไม่กี่ปีมานี้ อุตสาหกรรมเส้นใยขนแพะของหนิงเซี่ยเติบโตอย่างรวดเร็ว และพัฒนาจนเป็นเขตอุตสาหกรรมการแปรรูปขนแพะที่ใหญ่ติด 1 ใน 3 ของจีน ปริมาณการซื้อขายขนแพะในตลาดอยู่ที่ 6,000 7,000 ตัน/ปี การแปรรูปเส้นใยขนแพะที่เรียกว่า อู๋เหมาหรง มีประมาณ 4,000 ตัน/ปี หรือเท่ากับร้อยละ 60 ของปริมาณที่ผลิตได้ทั้งประเทศ
ปัจจุบัน เขตหนิงเซี่ยมีโรงงานแปรรูปขนแพะทั้งหมด 90 แห่ง อยู่ในรูปบริษัท 28 แห่ง และเครือบริษัท 7 แห่ง ได้แก่ เครือบริษัทจงอิ๋น (中银) เจียหยวน (่嘉源) หรงฉาง (荣昌) St.Edenweiss (圣雪绒)  Master Cashmere (马斯特) เต๋อไห่ (德海) และเซิงไห่ (生海) โดยเป็นบริษัทที่มียอดขายต่อปีมากกว่า 100 ล้านหยวน 14 แห่ง และบริษัทที่มียอดขายมากว่า 1,000 ล้านหยวน 1 แห่ง บริษัทเหล่านี้จะให้ความสำคัญต่อการจัดการ การพัฒนาคุณภาพสินค้า การใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย การคิดค้นสินค้าใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันในตลาด และสร้างความร่วมมือกับบริษัทต่างประเทศต่าง ๆ เช่น บริษัท Dawson International ของอังกฤษ และ Switzerland and Eastern Topaz Alpha ของสวิตเซอร์แลนด์
เครือบริษัท Master Cashmere และ St.Edenweiss เป็นบริษัทที่มียอดขายติด 50 อันดับแรกของธุรกิจทอเส้นใยของจีนโดยอยู่ในอันดับที่ 15 และ 22 ตามลำดับ และยังเป็นบริษัทที่ติด 1 / 100 ของบริษัทส่งออกเส้นใยของจีน ส่วนเครือบริษัทจงอิ๋น ถือเป็นบริษัทส่งออกอู๋เหมาหรงและสินค้าเกี่ยวกับขนแพะมากเป็นอันดับ 1 ของจีนเป็นระยะเวลา 4 ปีซ้อน (ตั้งแต่ปี 2547 2550)  คาดว่าในปี 2551 มูลค่าการผลิตของอุตสาหกรรมขนแพะของหนิงเซี่ยจะทะลุถึง 4,500 ล้านหยวน ซึ่งทำให้ชาวหนิงเซี่ยมีงานทำคิดเป็นร้อยละ 60 ของผู้ที่สำเร็จการศึกษา สร้างรายได้ให้แก่แรงงานหนิงเซี่ย
  1. มีกลุ่มอุตสาหกรรมการแปรรูปขนแพะที่โดดเด่น
ปัจจุบัน หนิงเซี่ยมีกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปขนแพะที่โดดเด่น 2 แห่ง คือ เขตอุตสาหกรรมขนแพะอำเภอถงซิน เมืองอู่จง และเขตอุตสาหกรรมขนแพะเมืองหลิงอู่ ทั้งสองเขตมีบริษัทรวม 77 แห่ง เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรสำหรับการหวีเส้นใยถึงร้อยละ 90 ของเขตหนิงเซี่ย  
*        เขตอุตสาหกรรมขนแพะอำเภอถงซิน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอำเภอถงซิน ห่างจากตัวอำเภอราว 1.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ 2,200 หมู่ ( 1 หมู่ ประมาณ 667 ตารางเมตร) มีจุดเด่นคือ ค่าแรงต่ำและเป็นศูนย์จำหน่ายขนแพะดิบที่มีชื่อเสียง
*        เขตอุตสาหกรรมขนแพะเมืองหลิงอู่ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2546 มีพื้นที่ 3,600 หมู่ จุดเด่นคือการคมนาคมสะดวก เน้นการแปรรูปและการผลิตขนแพะอู๋เหมาหรงชั้นดี
นายจาง เสี่ยวซู (Zhang Xiaosu) นายหลี่ รุ่ย (Li Rui)
และนายเฉิน โสวซิ่น (Chen Shouxin) ผู้นำของเขตหนิงเซี่ย (ภาพซ้ายมือ)
พร้อมสมาชิกคณะวิจัย (ภาพขวามือ) เข้าเยี่ยมชมเขตนิคมอุตสาหกรรมขนแพะเมืองหลิงอู่ เขตหนิงเซี่ย

  1. มีเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัย
ก่อนปี 2546 อุตสาหกรรมการแปรรูปขนแพะของหนิงเซี่ยมักใช้แรงงานในการผลิตเป็นหลักและเครื่องจักรที่ใช้ไม่มีความซับซ้อนใด ๆ  ปริมาณการผลิตขนแพะอู๋เหมาหรงที่ได้จึงต่ำ แต่ไม่กี่ปีมานี้บริษัทส่วนใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนเครื่องล้างเส้นใย เครื่องหวีเส้นใย และเครื่องถักเส้นใยให้ทันสมัยยิ่งขึ้น เป็นเทคโนโลยีการแปรรูปที่ก้าวหน้าและเชื่อมต่อกันจบจนกระบวนการผลิต เพื่อลดความเสียหายของเส้นใยและเพิ่มอัตราขนแพะอู๋เหมาหรงที่ได้ให้สูงขึ้น
นอกจากนี้เขตอุตสาหกรรมขนแพะเมืองหลิงอู่ยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซีอาน สร้างเขตวิจัยการผลิตขนแพะ เพื่อทำให้อุตสาหกรรมขนแพะของหนิงเซี่ยกลายเป็นแหล่งเครื่องจักรที่ทันสมัยและมีเทคโนโลยีการหวีเส้นใยที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
ภายในโรงงานการปั่นเส้นใยยาว
การปฏิบัติงานใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

  1. มีกลยุทธ์ที่ดี
ปัจจุบันการแปรรูปขนแพะของหนิงเซี่ยมีเครื่องจักรที่ทันสมัย คุณภาพโดดเด่น การซื้อขนแพะดิบยึดคุณภาพดีจากแหล่งผลิตเป็นหลัก การแปรรูปและเครื่องจักรต่าง ๆ ได้ปรับเปลี่ยนเทคนิคเพื่อให้เกิดงานศิลปะที่สร้างสรรค์มากขึ้น ได้รับการรับรองระบบมาตรฐาน ISO 9000 (การรับรองระบบการบริหารคุณภาพระหว่างประเทศ) และ ISO 14000 (การรับรองระบบสิ่งแวดล้อม) เกิดภาพลักษณ์ที่ดีกลายเป็น ขนแพะหนิงเซี่ยคุณภาพเยี่ยม ตอบสนองความพอใจของลูกค้าระดับสูงทั้งในและต่างประเทศ คุณภาพของอู๋เหมาหรงของเขตหนิงเซี่ยเป็นที่ยอมรับของวงการขนแพะทั่วโลก ลูกค้าหลายคนกล่าวว่า ถ้าหากต้องการซื้อขนแพะอู๋เหมาหรงคุณภาพดี ต้องไปที่หนิงเซี่ย และเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2549 สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอของจีนได้ขนานนามเมืองหลงอู่เขตหนิงเซี่ยว่าเป็น เมืองแห่งอุตสาหกรรมขนแพะคุณภาพยอดเยี่ยมของจีน  การส่งออกอู๋เหมาหรงและสินค้าขนแพะของหนิงเซี่ยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี และตั้งแต่ปี 2549 หนิงเซี่ยกลายเป็นเขตที่มีการส่งออกอู๋เหมาหรงมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ
การส่งออกอู๋เหมาหรงและสินค้าขนแพะของหนิงเซี่ย
พ.ศ.
ปริมาณการส่งออก
อู๋เหมาหรง (ตัน)
เสื้อ sweater (ล้านตัว)
2548
857
0.45
2549
1,018
1.12
2550
1,031
1.12

  1. มีการผลิตแบบซับซ้อน (การแปรรูปเชิงลึก)
อุตสาหกรรมการแปรรูปขนแพะของหนิงเซี่ยในปัจจุบันมีความสามารถในการผลิตแบบซับซ้อนมากขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และถือเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมอู๋เหมาหรง การผลิตเส้นใย การผลิตเส้นด้าย และเสื้อ sweater ให้ได้มาตรฐานระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นแรงดึงดูดเงินทุนเพิ่มขึ้น  

เป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมขนแพะของหนิงเซี่ย
รัฐบาลหนิงเซี่ยได้กำหนดแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมขนแพะว่า ภายในปี 2553 ยอดจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ขนแพะจะต้องสูงถึง 10,000 ล้านหยวน และจะพัฒนาหนิงเซี่ยให้เป็นเขตแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนแพะและเป็นศูนย์จำหน่ายอู๋เหมาหรงและขนแพะดิบที่ใหญ่ที่สุดในจีน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ หนิงเซี่ยจะต้องสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ใช้ตลาดภายในประเทศและตลาดระหว่างประเทศและทรัพยากรขนแพะที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มศักยภาพของศูนย์จำหน่ายอู๋เหมาหรงและขนแพะดิบ นำข้อได้เปรียบของการแปรรูปอู๋เหมาหรงชั้นยอดมาขยายขนาดของอุตสาหกรรมและขนาดของตลาด รวมทั้งขยายการแปรรูปเชิงลึกและความสามารถในการผลิตขนแพะชั้นดี

กลยุทธในการพัฒนาอุตสาหกรรมขนแพะของหนิงเซี่ย
1. พยายามสร้างให้หนิงเซี่ยกลายเป็นศูนย์รับซื้อและจำหน่ายขนแพะดิบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ขณะเดียวกันศูนย์แห่งนี้จะมีระบบการประกาศข่าวสารที่ดี มีการตรวจสอบคุณภาพที่ได้มาตรฐาน และมีการค้าขายที่ยุติธรรมและเปิดเผย เพื่อให้กลายเป็นศูนย์ประมูลขนแพะระดับนานาชาติ ที่ดึงดูดนักธุรกิจทั้งในและนอกประเทศเข้ามาแข็งขันในตลาดขนแพะมากขึ้น
การแข่งขันประมูลขนแพะที่อำเภอถงซิน เมืองอู่จงเขตหนิงเซี่ย

2. สร้างเขตอุตสาหกรรมขนแพะเพื่อดึงดูดเงินลงทุน รัฐบาลควรมีนโยบายให้สิทธิพิเศษและการบริการที่ดี เพื่อดึงดูดนักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศเข้ามาจัดตั้งโรงงาน
3. ส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวกับขนแพะให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยการสร้างความร่วมมือกับนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้หนิงเซี่ยกลายเป็นแหล่งผลิตขนแพะชั้นยอดของประเทศ     
4. ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปจากการผลิตขั้นพื้นฐาน ให้กลายเป็นการผลิตแบบซับซ้อน เพื่อจะได้พัฒนาขนแพะให้มีมูลค่าเพิ่มและกลายเป็นสินค้าระดับแนวหน้ามากขึ้น
5. เพิ่มความร่วมมือกับเขตอุตสาหกรรมขนแพะภายในประเทศและธุรกิจขนแพะระดับนานาชาติมากขึ้น เช่น องค์กร IWTO (International Wool Textile Organization ) สถาบัน CCMI  (Cashmere and Camel Hair Manufacturers Institute) และสมาคมธุรกิจสิ่งทอขนสัตว์แห่งชาติจีน อีกทั้งมีการจัดงานแสดงสินค้าขนแพะระหว่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนและส่งเสริมข้อดีซึ่งกันและกัน
6. มีการสร้างตรายี่ห้อ (Brand) เป็นของตนเอง นอกจากตรายี่ห้อ St.Edenweiss (圣雪绒) ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศแล้ว ยังต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับตรายี่ห้ออื่น ๆ ต่อไป เช่น Rong Dian (绒典) และPa Xue Ran (帕雪兰)

อีกหนึ่งโอกาสการลงทุนของไทย
อุตสาหกรรมขนแพะเป็นอีกหนึ่งโอกาสการลงทุนที่หนิงเซี่ยกำลังกวักมือเรียกนักลงทุนให้เข้ามาร่วมมือทั้งทางด้านเม็ดเงินและเทคโนโลยีชั้นสูง หากนักลงทุนไทยท่านใดสนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เวปไซด์ http://www.nxinvest.gov.cn/



แหล่งข้อมูลและรูปภาพ
http://detail.cn.china.cn/provide/detail,1315453970.html?id=424957
http://www.sitong-cn.com/product1.asp
http://www.nxinvest.gov.cn/red/news/detail.do?newsId=4273