วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การพัฒนาอุตสาหกรรมของจีน

                                                   การพัฒนาอุตสาหกรรมของจีน                 \
เมื่อราวๆ กลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการวิพากษ์ในหนังสือพิมพ์จีนว่าด้วย การทบทวนและประเมินการพัฒนาอุตสาหกรรมจีนตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 จนปัจจุบัน และเปรียบเทียบกับการพัฒนาอุตสาหกรรมหลังเปิดประเทศปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งมีหลากหลายความเห็นที่น่าสนใจที่ไทยอาจต้องศึกษา เพื่อนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุนของประเทศ
                เนื่องจากประเทศจีนได้เริ่มพัฒนาตามแบบฉบับอุตสาหกรรมใหม่ (ปฏิวัติอุตสาหกรรม
ครั้งที่ 1) ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย และเกิดการชะงักงันเป็นเวลาหลายสิบปีจวบจนกลางศตวรรษที่ 20 และเกือบหยุดสนิทประมาณ 30 ปี เสร็จแล้วใช้เวลาอีก 20 ปี ในการพัฒนาแบบก้าวกระโดดจนกระทั่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในหลายๆ ด้านของโลก นักวิชาการจีนดังกล่าวมีความเห็นว่า ที่จีนสามารถพัฒนาจนเป็นเช่นนี้ เกิดจากกระแสความคิด 2 กระแส
                กระแสแรก จีนได้วางพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักไว้ตั้งแต่ต้นและไม่เคยละทิ้ง เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เครื่องจักรกล เคมี จึงกลายเป็นพื้นฐานรองรับและประกันการพัฒนา
                กระแสที่สอง ในช่วงที่จีนเปิดประเทศใหม่ๆ ว่าด้วยแนวทางที่จะนำเข้าเทคโนโลยี
สมัยใหม่ มีกลุ่มหนึ่งเห็นคล้อยตามคำแนะนำของประเทศที่พัฒนาแล้วสมัยนั้นว่าควรที่จะพัฒนาตามขั้นตอน เนื่องจากเทคโนโลยีจีนขณะนั้นล้าหลังอยู่มาก จึงเลือกนำเข้าเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระดับก่อนหน้าสมัยนั้น 5-10 ปี
                ถึงแม้เทคโนโลยีที่จีนใช้ในขณะนั้นจะล้าหลังในสากลโลก แต่ถือว่าทันสมัยมาก
สำหรับจีน ในการผลิตและจำหน่ายในตลาดของจีน ซึ่งรับความนิยมสูงมาก เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ขณะเดียวกัน ก็มีอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่า พื้นฐานทางวิชาการและเทคโนโลยีจีน พร้อมอยู่แล้ว จึงเลือกที่จะก้าวกระโดดโดยซื้อเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ณ ขณะ นั้น เช่น ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และการ สื่อสาร เทคโนโลยีอวกาศ อุตสาหกรรมเหล็ก ปรากฏในภายหลังว่า ทั้งสองกลุ่มได้พบ จุดบรรจบกันในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 20 และนำมาซึ่งความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมอีกระลอกดังที่เห็นกันขณะนี้
                ผลและสภาพของการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของจีนที่เราได้เห็นทุกวันนี้ นัก
วิชาการจีนส่วนใหญ่มองว่าเป็นผลเกิดจากการปูพื้นฐานทางวิชาการและการพัฒนา อุตสาหกรรมหนักตั้งแต่สมัยแรก กลายเป็นหลักประกันสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมเบา เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ให้พัฒนาอยู่บนขาของตนเอง ไม่ว่าจะ เป็นวัตถุดิบ เช่น เหล็กและโลหะอื่นๆ พลาสติก และเคมี ที่เป็นพื้นฐานนำไปแปรรูป ต่อจนจีนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับสูงดังที่เป็นอยู่ และเป็นพื้นฐานในการ พัฒนาเทคโนโลยีและสิทธิบัตรตราสินค้าของตนเอง

 
ในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge based economy) การสร้างนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคมถูกนำมาเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติที่ได้รับความสนใจในหลายๆประเทศ รวมถึงประเทศจีนด้วย และหากพิจารณาขนาดตลาดโทรคมนาคมในโลก จะเห็นได้ว่า ประเทศจีนจะมีขนาดของตลาดที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น
ส่วนประเทศจีนเพิ่งจะอยู่ในสถานะเริ่มต้นเท่านั้น แต่ก็เป็นประเทศที่กำลังจะกลายเป็นยักษ์ใหญ่ของโลกในอีกไม่นานนี้อันมีแรงผลักดันหลายประการดังนี้
ประการแรก คือ ประเทศจีนมีตลาดท้องถิ่นขนาดใหญ่สนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เติบโตอย่างรวดเร็ว
ประการที่สอง คือ ประเทศจีนมีห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ที่เข้มแข็ง และมีประสบการณ์ที่ดีโดยได้เรียนรู้จากบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมและบริษัทให้บริการข้อมูล
ประการที่สาม คือ ประเทศจีนมีการส่งเสริมธุรกิจด้านผู้ผลิต และผู้ประกอบการ และ
ประการที่สี่ ภาครัฐบาลมีบทบาทในการออกกฎระเบียบที่สำคัญ ในการก่อสร้าง สนับสนุน บ่มเพาะธุรกิจโทรคมนาคม ที่มีประสิทธิภาพจึงสามารถกล่าวได้ว่ารัฐบาลของประเทศจีน เป็นผู้นำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโดยใช้กลยุทธ์แบบ Macroscopic strategies และการให้ความสำคัญกับการร่วมกันพัฒนาระหว่างบริษัทผู้ประกอบการโทรคมนาคม (Operator) และบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม (Supplier / Manufacturer) อย่างชัดเจนที่สุด โดยเป็นการร่วมกันพัฒนาภายใต้การนำโดยกลยุทธ์ของรัฐบาลเป็นปัจจัยหลัก
                ผู้ประกอบกิจการด้านโทรคมนาคมหลายแห่งจากจีนได้เข้ามาให้บริการกับลูกค้าในประเทศจีน ตัวอย่างเช่น บริษัท SK Telecom และ NTTDoCoMo รวมถึงบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ
ตั้งแต่บริษัท China Unicom ผู้ให้บริการด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศจีน ได้นำระบบ CDMA เข้ามาใช้เป็นเจ้าแรก ทำให้ผู้ให้บริการจากเกาหลีและญี่ปุ่นพยายามที่จะเข้ามาลงทุนในจีน อันเนื่องจากว่า ทั้งคู่สามารถปรับเข้าใช้โครงข่าย CDMA ได้โดยง่าย เพราะมีประสบการณ์ทางเทคโนโลยีด้านนี้อยู่แล้ว โดย CDMA เป็นคู่ต่อสู้กับระบบ GSM ที่มีผู้ใช้อยู่ในจีนแล้วกว่า 130 ล้านราย
จีนได้เข้ามาเป็นสมาชิกขององค์กรการค้าโลก (WTO: World Trade Organization) เมื่อปี 2001 ทำให้จีนต้องมีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม โดยรัฐบาลกลางได้พิจารณาส่งเสริมให้มีการเปิดกว้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคม อันเนื่องมาจากการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้จีนเป็นตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใหญ่ที่สุดอันเนื่องมาจากมีประชากรเป็นจำนวนมากนั่นเอง
ผู้นำของจีนก็ตระหนักดีว่า อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน ได้เข้าสู่ยุคใหม่ โดยเป็นยุคแห่งความร่วมมือกันระหว่างบริษัทต่างชาติกับประเทศจีน และความร่วมมือนี้จะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพื่อการก้าวไปเป็นบริษัทระดับนานาชาติได้ในปี 2003 การเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศจีน ดำเนินไปอย่างมั่นคง การขยายตัวของความต้องการ และมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ถูกจับตามองจากนานาชาติ จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์ทั่วประเทศสูงถึง 500 ล้าน จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ มีมากกว่าผู้ใช้โทรศัพท์ Fixed line และยอดผู้ใช้อินเตอร์เน็ต (ไม่รวมโมมายอินเตอร์น็ต) มีจำนวนสูงกว่า 80 ล้าน ซึ่งเป็นอันดับสองของโลก
                จากสถิติพบว่าจะมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์รายใหม่อยู่ที่ 90 ล้านรายต่อปี โดยในสิ้นเดือนกันยายนปี 2004 มีจำนวนมากกว่า 626 ล้านราย โดยกว่า 320 ล้านรายจะเป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จนทำให้เกิดรายได้กว่า 386.2 พันล้านหยวน (46.5 พันล้านดอลล่าสหรัฐฯ)
1. จีนมีการจัดตั้งระบบการรวมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ทั้งงานวิจัยและพัฒนา, การดำเนินการ, การให้บริการ ไว้ด้วยกันเป็นห่วงโซ่
2. เครือข่ายโทรคมนาคมถูกวางระบบด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด
3. จีนมีขนาดของตลาดสำหรับธุรกิจโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
4. จีนมีผู้ประกอบการโทรคมนาคมระดับยักษ์ใหญ่อยู่หลายราย มีการลงทุนสูง มีการแข่งขัน ในระดับนานาชาติ
5. มีการบริการ ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการให้ผู้ใช้มีความพึงพอใจ
6. การให้บริการโครงข่าย ทั้งทางเสียงและข้อมูล ในตลาดโทรคมนาคม มีการขยายตัว ไปยังเอเชียและแปซิฟิกอย่างชัดเจน
7. ผู้ประกอบการจีน พุ่งเป้าไปยังการลงทุนและทำธุรกิจระหว่างประเทศ (Global capital market) ด้วยการลงทุนด้วยมูลค่าสูง
8. ตั้งแต่จีนเข้าสู่การเป็นสมาชิก WTO มีผู้ประกอบการรายใหญ่จากนานาชาติเข้าไปยังประเทศจีน ก่อตั้งศูนย์กลาง การทำการวิจัยและพัฒนา อย่างมากมาย
อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศจีนที่ประเทศไทยควรเรียนรู้
        ปัจจุบันสภาพตลาดของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศจีนมีการแข่งขันกันสูงขึ้น มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ประกอบกับมีการกระตุ้นจากภาครัฐบาลในการก้าวไปสู่การสื่อสารยุค "3จี" (3G) โดยให้ไลเซ่นส์ 3จี กับบริษัทผู้ประกอบการทั้ง 4 รายในประเทศจีน อันได้แก่ ไชน่า โมบาย, ไชน่า ยูนิคอม, ไชน่า เทเลคอม และ ไชน่า เน็ตคอม จึงเป็นการกระตุ้นการแข่งขันในตลาดให้สูงขึ้นด้วย(สามารถหารายละเอียดของ3Gได้
      ปลายปี 2004 ประเทศจีนมีผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 334 ล้านคน (25.9% ของประชากรทั้งประเทศจีน) และจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ และโทรศัพท์บ้านห่างกัน 22.38 ล้านคน เนื่องมาจากจำนวนผู้ใช้งานใหม่ที่เพิ่มขึ้นของโทรศัพท์เคลื่อนที่ คิดเป็น 1.3 เท่าของผู้ใช้งานใหม่ของโทรศัพท์บ้าน
 
   จากการวิเคราะห์พบว่า แม้การขยายตัวของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเพิ่มขึ้น แต่รายได้กลับลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องมาจากการเกิดสงครามราคา (Price war) ระหว่างเทเลคอม โอเปอเรเตอร์ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือดในตลาดโลว์-เอ็น (Low-End) นั่นเอง ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

        
การหาลูกค้าของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วงที่ผ่านมา ไชน่า โมบาย มีการแข่งขันโดยทำสงครามราคาที่ดุเดือดมาก โดยเริ่มตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2003 และในครึ่งปีแรกของปี 2004 ก็ลดราคาลงไปถึงราคาต้นทุน (Bottom Line of Cost) ซึ่งทำให้รายได้ลดลงจนไม่เกิดกำไร แม้ว่าจะสวนทางกับจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ต้องจำทนอยู่ในภาวะกดดันนั้นมาตลอด

         
จนกระทั่งกระทรวงข้อมูลข่าวสารอุตสาหกรรม (Ministry of Information Industry) ได้เข้ามาดูแลกวดขัน จึงทำให้ปลายปี 2004 สงครามราคาจึงค่อยๆ ลดลง และการแข่งขันเริ่มเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น

        
ไชน่า โมบาย ได้พยายามใช้โอกาสจากเทคโนโลยีที่มีอยู่ ในการพัฒนาและออกแบบบริการรูปแบบใหม่ ยกตัวอย่างโครงการที่กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยและพัฒนา เช่น จับมือร่วมกับบริษัท กูเกิลในการพัฒนาช่องทางไร้สาย และอี-คอมเมิร์ซบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ในอนาคต โดยกูเกิลนั้นเป็นผู้ให้บริการเสิร์ช เอ็นจิ้นกับผู้ใช้บริการของ ไชน่า โมบาย

         
โดยปัจจุบันบริการนี้เปิดให้บริการกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสหรัฐอเมริกาแล้ว 6 แห่ง และกำลังจะเริ่มให้บริการกับไชน่า โมบายด้วยเช่นกัน

         
ไชน่า โมบายให้บริการดาวน์โหลด เกมผ่านโทรศัพท์มือถือขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศจีน โดยได้ทำการทดลองในเฟสแรกที่ มณฑล Guangdong ตั้งแต่ต้นปี 2002 และขยายให้บริการในมณฑลเซี่ยงไฮ้เป็นมณฑลต่อมา และขยายออกไปจนครอบคลุมทุกพื้นที่ให้บริการ
            สภาวะปัจจุบันของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมภายในประเทศจีน อยู่ในภาวะที่แข่งขันกันสูง จึงมีความเสี่ยงสูงที่กำไรจากการประกอบการจะลดลงตามไปด้วย อีกทั้งหน่วยงานวางแผนทางเศรษฐกิจระดับชาติของจีน ได้พิจารณาออกกฎข้อบังคับใหม่ เพื่อสร้างมาตรฐานของกระบวนการอนุมัติการลงทุนในด้านธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมไร้สายในประเทศใหม่ โดยเปิดทางให้ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือจากต่างประเทศเข้ามาทำตลาดในจีนได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นความเสี่ยงอีกทางหนึ่งด้วย
       
แม้ว่าช่วงที่ผ่านมานักลงทุนจากต่างประเทศจะยังไม่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศจีนมากนัก แต่บริษัทเหล่านั้นก็กำลังเตรียมตัว และรอดูท่าทีและเวลาที่เหมาะสมสำหรับจะเข้าไปลงทุน ซึ่งคาดว่าตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป จะเริ่มมีการหลั่งไหลของบริษัทข้ามชาติที่จะเข้าไปลงทุนในตลาดสื่อสารจีนมากขึ้น

     
ประกอบกับเทคโนโลยี 3จี ที่สามารถให้บริการด้านโมบาย ดาต้า ที่รัฐบาลจีนผลักดันให้เกิดขึ้นในประเทศ ยิ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มคู่แข่งขันขึ้นในตลาด จึงอาจทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมด้านดังกล่าวทวีความรุนแรงมากขึ้นระหว่างบริษัทในประเทศและบริษัทข้ามชาติ โดยมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นกัน
         รถไฟใต้ดินในเซี่ยงไฮ้

   

  เมื่อราวๆ กลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการวิพากษ์ในหนังสือพิมพ์จีนว่าด้วย การทบทวนและประเมินการพัฒนาอุตสาหกรรมจีนตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 จนปัจจุบัน และเปรียบเทียบกับการพัฒนาอุตสาหกรรมหลังเปิดประเทศปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งมีหลากหลายความเห็นที่น่าสนใจที่ไทยอาจต้องศึกษา เพื่อนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุนของประเทศ
        เนื่องจากประเทศจีนได้เริ่มพัฒนาตามแบบฉบับอุตสาหกรรมใหม่ (ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1) ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย และเกิดการชะงักงันเป็นเวลาหลายสิบปีจวบจนกลางศตวรรษที่ 20 และเกือบหยุดสนิทประมาณ 30 ปี เสร็จแล้วใช้เวลาอีก 20 ปี ในการพัฒนาแบบก้าวกระโดดจนกระทั่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในหลายๆ ด้านของโลก
นักวิชาการจีนดังกล่าวมีความเห็นว่า ที่จีนสามารถพัฒนาจนเป็นเช่นนี้ เกิดจากกระแสความคิด 2 กระแส
  1. กระแสแรก จีนได้วางพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักไว้ตั้งแต่ต้นและไม่เคยละทิ้ง เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เครื่องจักรกล เคมี จึงกลายเป็นพื้นฐานรองรับและประกันการพัฒนา
  2. กระแสที่สอง ในช่วงที่จีนเปิดประเทศใหม่ๆ ว่าด้วยแนวทางที่จะนำเข้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีกลุ่มหนึ่งเห็นคล้อยตามคำแนะนำของประเทศที่พัฒนาแล้วสมัยนั้นว่า ควรที่จะพัฒนาตามขั้นตอน เนื่องจากเทคโนโลยีจีนขณะนั้นล้าหลังอยู่มาก จึงเลือกนำเข้าเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระดับก่อนหน้าสมัยนั้น 5-10 ปี
ถึงแม้เทคโนโลยีที่จีนใช้ในขณะนั้นจะล้าหลังในสากลโลก แต่ถือว่าทันสมัยมากสำหรับจีน ในการผลิตและจำหน่ายในตลาดของจีน ซึ่งรับความนิยมสูงมาก เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน
ขณะเดียวกัน ก็มีอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่า พื้นฐานทางวิชาการและเทคโนโลยีจีนพร้อมอยู่แล้ว จึงเลือกที่จะก้าวกระโดดโดยซื้อเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ณ ขณะนั้น เช่น ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร เทคโนโลยีอวกาศ อุตสาหกรรมเหล็ก ปรากฏในภายหลังว่า ทั้งสองกลุ่มได้พบจุดบรรจบกันในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 20 และนำมาซึ่งความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอีกระลอกดังที่เห็นกันขณะนี้
ผลและสภาพของการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของจีนที่เราได้เห็นทุกวันนี้ นักวิชาการจีนส่วนใหญ่มองว่าเป็นผลเกิดจากการปูพื้นฐานทางวิชาการและการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักตั้งแต่สมัยแรก กลายเป็นหลักประกันสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมเบา เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ให้พัฒนาอยู่บนขาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ เช่น เหล็กและโลหะอื่นๆ พลาสติก และเคมี ที่เป็นพื้นฐานนำไปแปรรูปต่อจนจีนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับสูงดังที่เป็นอยู่ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีและสิทธิบัตรตราสินค้าของตนเอง

6 ความคิดเห็น:

  1. แบลกกราวอันนี้สวยนะ แต่อันก่อนสวยกว่า งิงิ จ๊บๆ

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาดี การจัดวางดี

    ตอบลบ
  3. เนื้อหาสมบูรณ์ จัดรูปแบบสวยงาม

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาเยอะมากๆๆๆ อ่านแล้วเข้าใจหมดเลยในประเทศจีน

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาดีมาก อ่านสบายตาดีค่ะ

    ตอบลบ