วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศจีนในมุมมองต่างๆ

ประเทศจีนมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีพลวัตรสูง และเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ (economic powerhouse) ของภูมิภาคและของโลกด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี และการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดกำลังเป็นที่จับตามองของทุกฝ่ายว่าการเติบโตนี้จะมุ่งไปในทิศทางใด
           
-           ปัจจุบันถนนทุกสายวิ่งสู่ประเทศจีนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก รองลงมาจาก สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเยอรมนี และเงินทุนสำรองที่มากที่สุดในโลกโดยความสำเร็จนี้นำมาซึ่งความห่วงกังวลและโอกาส โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน
           
-     เขตเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนมี ดังนี้  (1) เขตลุ่มแม่น้ำเพิร์ล (Pearl River Delta) ประกอบด้วย 9 เมือง ได้แก่ นครกวางโจว เสิ่นเจิ้น จูไห่ ตงก่วน ฝอซาน (รวมหนานไห่และซุนเต๋อ)

จงซาน เจียงเหมิน หุ้ยโจว (ยกเว้น Longmen County) และจ้าวฉิ้ง (เขตเมืองจ้าวฉิ้ง Gaoyao และ Sihui) (2) เขตปากน้ำแยงซี (Yangtze River Delta) รวม 16 เมือง ได้แก่ นครเซี่ยงไฮ้ 8 เมืองในมณฑลเจียงซู และ 7 เมืองในมณฑลเจ้อเจียง (3)  เขตเศรษฐกิจป๋อไห่ (Bohai Economic Zone) ประกอบด้วยกรุงปักกิ่ง มหานครเทียนจิน และเมืองในมณฑลเหอเป่ยและชานตง1 และ (4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คลอบคลุมมณฑลเหลียวหนิง จี๋หลิน และเฮยหลงเจียง ซึ่งในอดีตเป็นเขตอุตสาหกรรมหนักที่สำคัญของประเทศ แต่ได้รับผลกระทบหลังจากที่รัฐบาลจีนได้เริ่มดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบระบบตลาด (market economy) ส่งผลให้เขตนี้มีความล้าหลังกว่า 3 เขตข้างต้น  อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะฟื้นฟูเขตดังกล่าวให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมหนักของประเทศ เป็น new powerhouse ของประเทศเช่นเดียวกับเขตเศรษฐกิจ 3 เขตข้างต้น โดยได้กำหนดให้เหลียวหนิงเป็นศูนย์การผลิตอุปกรณ์และวัตถุดิบระดับโลก


            1.1 
   ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจจีน (ปี 2549)
            2.1    ด้านการค้า            

           
-     การค้าระหว่างไทยกับจีนได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปี
2548 การค้าทวิภาคีมีมูลค่า
20,327.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจีนได้เลื่อนขึ้นมาเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทย และไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 14 ของจีน ในปี 2548 มูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.21 ทั้งนี้ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2549 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่าประมาณ 22,964.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  โดยไทยส่งออกสินค้าไปจีนมูลค่า 10,625.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.41 ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าจากจีน 12,339.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.30
           
-           ระหว่างการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจไทย-จีน ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งเป้าหมายมูลค่าการค้าไทย-จีนภายในปี 2553 จะเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
           
-           จีนเป็นตลาดส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกชนิดของไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตร สินค้าส่งออกของไทยไปจีนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30 ต่อปีโดยแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อไป โดยเฉพาะสินค้า เช่น วัตถุดิบ พลังงาน เคมีภัณฑ์ และสินค้าเกษตร
           
            2
.2    การลงทุน
            
-           การลงทุนระหว่างไทยกับจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้การลงทุนของจีนในไทยยังไม่มากนักและกระจัดกระจาย และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนระยะสั้นและมีขนาดกลาง           
           
-     ในปี
2548 การลงทุนของไทยในจีนมี 147 โครงการ มูลค่าการลงทุนตามสัญญา 1,040 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินลงทุนจริง 95.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการเกษตร ป่าไม้ อสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร ในขณะที่การลงทุนของจีนในไทยยังมีไม่มากนัก ประมาณ 250 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การลงทุนสะสมของไทยในจีนจนถึงเดือนมีนาคม 2549 มี 3,713 ดอลลาร์สหรัฐ เงินลงทุนจริง 2,882.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการลงทุนตามสัญญาจนถึงเดือนกันยายน 2548 เท่ากับ 7,881.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
           
-           การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจไทย-จีน ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้ตั้งเป้าหมายมูลค่าการลงทุนสองฝ่ายภายในปี 2553 จะเพิ่มขึ้นเป็น 6,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเน้นส่งเสริมการลงทุนใน 5 สาขา คือ อาหาร เกษตรแปรรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และการบริหารที่มีมูลค่าเพิ่ม
           
-           รัฐบาลจีนมีนโยบายส่งเสริมให้นักธุรกิจจีนไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น2 โดยอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศเป้าหมายที่นักลงทุนจีนให้ความสนใจเป็นอันดับแรกอันเนื่องจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และความคล้ายคลึงของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมระหว่างกัน ซึ่งไทยมีความได้เปรียบและจุดเด่นในด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในอันที่จะทำหน้าที่เป็นประตูสำหรับจีนไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
 
            2
.3  การท่องเที่ยว 
            -      คนจีนมีรายได้สูงขึ้น และรัฐบาลจีนเริ่มที่จะอนุญาตให้คนจีนเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้น โดยประเทศไทยมีที่ตั้งที่เหมาะสมในการรองรับการหลั่งไหลของคนจีนที่จะไปท่องเที่ยวต่างประเทศ
          
           
-      ตลาดนักท่องเที่ยวจีนเป็นตลาดที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเป็นตลาดนักท่องเที่ยวหลักของไทย โดยปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปประเทศไทยประมาณ
8 แสนคน โดยไทยเป็นประเทศ/พื้นที่ที่ชาวจีนเดินทางไปท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 รองจากฮ่องกง มาเก๊า และญี่ปุ่น
           
-           การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจไทย-จีน ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้ตั้งเป้าหมายนักท่องเที่ยวระหว่างไทยกับจีน เพิ่มขึ้นเป็น 4 ล้านภายในปี 2553
           
-           ไทยกับจีนมีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และเชื้อชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ประชาชนของทั้งสองประเทศมีความเข้าใจพื้นฐานที่ดีระหว่างกัน ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวไทยมีความสะดวดสบายสำหรับนักท่องเที่ยวจีน

   
           2
.4 
   ด้านสังคม วัฒนธรรม การศึกษาและวิชาการ
           
สังคมและวัฒนธรรม
           
-           ประชาชนชาวจีนและชาวไทยมีความใกล้ชิดและความผูกพันเกี่ยวดองกันทางด้าน
วัฒนธรรมและเชื้อชาติ และมีการติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ

           
-           ประชาชนชาวจีนและชาวไทยมีความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ไม่มีความบาดหมางที่ตกทอดมาจากประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ประลาลนส่วนใหญ่ของทั้งสองประเทศโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในช่วงการเริ่มต้นของการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-จีน ในอดีต ขาดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน


          
การศึกษาและวิชาการ
            
-          
ปัจจุบันมีนักศึกษาจีนมาศึกษาต่อในไทยจำนวนมากกว่า 1,000 คน โดยเป็นกลุ่มนักศึกษาต่างชาติที่มีจำนวนมากที่สุด และในขณะเดียวกัน มีนักเรียน/นักศึกษาไทยไปศึกษาต่อในจีนจำนวนมากเช่นกัน
             
-           ไทยกับจีนมีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการศึกษาและวิชาการระหว่างหน่วยงาน

ภาครัฐและสถาบันการศึกษาไทย-จีน อย่างสม่ำเสมอ ทั้งในรูปของทุนการศึกษา โครงการศึกษาดูงาน และการดำเนินโครงการวิจัยร่วมกัน
                          -           จีนเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ มีความก้าวหน้าทางวิชาการโดยเฉพาะในสาขาคณิตศาสตร์ฟิสิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพ เกษตร อวกาศ เป็นต้น และมีความรู้เฉพาะด้านที่สำคัญ เช่น แพทย์แผนจีน รวมทั้ง มีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก 

3.   การดำเนินงานเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน


             
-           ในปี 2553 เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนจะมีผลบังคับใช้ซึ่งจะเกิดการหลั่งไหลและ
เปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลต่อด้านการค้า การลงทุน การเดินทาง การคมนาคมต่าง ๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน กับไทยด้วยการอย่างของสินค้าจากจีนสู่ไทยและต่อไปยังภูมิภาคอาเซียน

             
-     ปัจจุบันจีนได้สร้างเส้นทางเชื่อมโยงไทยและตอนใต้ของจีนโดยการคมนาคมประกอบด้วย (
1) การเดินทางทางบกด้วยเส้นทาง R3A ระหว่างเชียงของ-ห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อหาร-จิ่งหง-ซือเหมา-คุนหมิง (รวม 1,104 กม.) และเส้นทาง R3B ระหว่างแม่สาย-เชียงตุง-เมืองลา-จิ่งหง-ซือเหมา-คุนหมิง (รวม 1,053 กม.)  (2) การเดินทางทางน้ำ ระหว่างจิ่งหง-กวนเหล่ย-เชียงแสน (รวม 344 กม.) (3) การเดินทางทางอากาศ ระหว่างกรุงเทพฯ-คุนหมิงและกรุงเทพฯ-จิ่งหง และ (4) การเดินทางทางรถไฟ
             -    
ไทยสามารถใช้ข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในปี 2553 เช่น การส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านคมนาคม  การเป็นแหล่งป้อนพลังงานให้กับจีน เช่น ท่อส่งน้ำมัน วัตถุเชื้อเพลิง การเป็นศูนย์กลางด้าน logistic และการบริการ เป็นต้น 
 

 



1 เขตเศรษฐกิจทั้ง 3 เขตข้างต้นเป็น  powerhouse ของการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีน  โดยเป็นแหล่งรวมตัวกันของนักลงทุนต่างชาติ  มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สูงและรวดเร็วกว่าเขตอื่นของประเทศหลายเท่าตัวจึงทำให้ความเจริญทางเศรษฐกิจของจีนกระจุกตัวในเขตดังกล่าวหรือบริเวณใกล้เคียง

2 บริษัทจีนที่มีศักยภาพที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจ (State Owned Enterprises: SOEs)  
 
 
GDP      2.29 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)2.62 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 จากปี 2548
การค้ากับต่างประเทศ          
        
การส่งออก
          
        
การนำเข้า
         ดุลการค้า                        
1.76 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (+23.8% จากปี 2548)969.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (+27.2%จากปี 2548)791.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (+20% จากปี 2548)177.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ1.07 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
การลงทุนของจีนในต่างประเทศ16.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อ1.8% (2548)

   
2. ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทย-จีน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น